ข้อมูลส่งเสริมสนับสนุนนักลงทุน


วัตถุประสงค์

1. จัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักลงทุนในจังหวัดชลบุรี
2. เชื่อมโยงนักลงทุนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3.  อัพเดทเงื่อนไขการค้าและการลงทุนในจังหวัดชลบุรี
4. ส่งเสริมแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการให้เข้าถึงช่องทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา


เตรียมตัวอย่างไรสำหรับผู้ประกอบการใหม่


ขยายกิจการในจังหวัดชลบุรี มีคำตอบ


เตรียมตัวอย่างไรขยายตลาดสู่สากล


แหล่งสนับสนุนเงินทุน“สำหรับผู้ประกอบการ”


 

เตรียมตัวอย่างไรสำหรับผู้ประกอบการใหม่

การจัดตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสหกรรม

สิทธิประโยชน์……

เป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น มีขีดความสามารถในการเลือกตลาดการค้าได้ตามสภาวะแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือผลิตเพื่อส่งออก พื้นที่เพื่อประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม จำแนกออกเป็น 2 เขต คือ

  • เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone: GIZ)
  • เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) โดยผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั้งสองจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้

Øสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตประกอบการเสรี

Øสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและการอำนวยความสะดวกในเขตประกอบการเสรี

ขยายกิจการในจังหวัดชลบุรี “ มีคำตอบ”

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน 

BOI (Board Of Investment) หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมการลงทุน ทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศของเราก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) ไปจนถึงเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

การลงทุนในประเทศไทยมีข้อดีอย่างไร

ประเทศไทยของเรา มีจุดแข็งอยู่หลายประการที่จะสามารถสร้างผลกำไรหลายๆอย่างกลับสู่ภาครัฐและเอกชนภายในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรภูมิอากาศ ภูมิประเทศและจุดแข็งด้านอื่น ได้แก่

  • แรงงานทักษะฝีมือที่มีคุณภาพและมีจำนวนมากกว่าประเทศอื่น
  • วัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ นอกจากนี้มีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด เป็นต้น
  • ที่ตั้งเหมาะสมในด้านการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาพอาเซียน ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายอย่าง โดยเฉพาะการขนส่งและการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ ไปจนถึงทางอากาศ

แหล่งที่มา BOI : https://www.boi.go.th

สิทธิประโยชน์เมื่อได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI

  1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
  2. ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
  3. ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  4. ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
  5. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

  1. อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
  2. อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  3. อนุญาตให้ช่างฝีมือ / ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

เขตปลอดอากร (Free Zone)

คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ทางอากรศุลกากรในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งเขตปลอดอากรต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร
คือ ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศในเขตปลอดอากร

คลิก แหล่งที่มา กรมศุลกากร

เตรียมตัวอย่างไรขยายตลาดสู่สากล

สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายศุลกากร

  1. ได้รับ ยกเว้นอากรขาเข้า สำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเข้าไปในเขตปลอดอากรในกรณี ดังนี้

เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบแห่งของดังกล่าวที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการ โดยให้รวมถึงของที่ใช้ในการสร้าง ประกอบหรือติดตั้งโรงงานหรืออาคารในเขตปลอดอากร ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใด ที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศของที่ปล่อยออกมาจากเขตปลอดอากรอื่น

  1. ได้รับ ยกเว้นอากรขาออก สำหรับของที่ปล่อยออกไปจากเขตปลอดอากรเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
  2. ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ของใดได้รับยกเว้นหรือคืนอากรเมื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หากนำของนั้นเข้าไปในเขตปลอดอากร ให้ได้รับยกเว้นหรือคืนอากร โดยให้ถือว่าของนั้นได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเวลาที่ได้นำของนั้นเข้าไปในเขตปลอดอากร
  3. ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือวัตถุดิบภายในราชอาณาจักร ซึ่งนำเข้าไปในเขตปลอดอากร เพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใดกับของนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

แหล่งที่มาข้อมูล  คลิก : https://www.customs.go.th

พิธีการนำเข้า ส่งออก ในเขตปลอดอากร

  • สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ และทำความเข้าใจ คือ

    เงื่อนไข การส่งมอบสินค้า เพราะผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนของธุรกิจ สำหรับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าหรือที่เรียกว่า “ Incoterms”

    เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสากลที่ใช้ในการตกลงทำสัญญาซื้อขาย ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ในเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้ สองฝ่ายเข้าใจตรงกัน  สำหรับเงื่อนไขที่มักจะใช้กันบ่อยๆ คือ EXW , FOB , CIF, DDP. นี้เป็นบางส่วนของ Incoterms

  • การขนส่งสินค้า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้าที่ต้องนำมาคำนวณ อาทิ เช่น

ค่าใช้จ่ายนำเข้าสินค้าทางบก (ทางรถ) (Cross Border)

ค่าใช้จ่ายนำเข้าสินค้าทางทะเล(Sea Freight)

ค่าใช้จ่ายนำเข้าสินค้าทางอากาศยาน Air Freight)

  ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า โดยภาพรวมอาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องรายละเอียดและเอกสารบางอย่าง

      โดยการขนส่งทั้ง 3 ประเภท ต่างมีข้อดี และความเหมาะสมในการขนส่งที่แตกต่างกันออกไป ผู้ประกอบการควรต้องเลือกให้เหมาะสม

  • การใช้สิทธิทางด้านภาษีอากร

   เป็นอีกสิ่งหนึ่งสำคัญยิ่ง ในการช่วยลดต้นทุน อาทิที่กล่าวมาข้างต้น หากเราสามารถนำมาใช้กับงานได้ อย่างเหมาะสมจะสามารถช่วยลดต้นทุน ของบริษัทได้อย่างมาก

ขั้นตอนการพิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น




ขั้นตอนการพิธีการส่งออกสินค้าเบื้องต้น




แนวทางเบื้องต้นที่ควรรู้  “หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)”

ข้อมูลทั่วไป

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) เป็นหนังสือที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อนำไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ส่งออกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย หากผลิตได้ถูกต้องตามกฏถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศผู้นำเข้าตามความตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ก็จะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า โดยปัจจุบันมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั้งหมด 15 แบบพิมพ์ (FORM)

ประเภทของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่นำไปใช้รับรองว่าสินค้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่ไม่สามารถนำไปยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าได้ เช่น Form C/O ทั่วไป (C/O General, Form C/O Mexico เป็นต้น

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่นำไปใช้รับรองว่าสินค้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและผลิตถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดด้วย สามารถนำไปยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าได้ เช่น Form A , Form D , Form E และ Form FTA ต่างๆ

คลิก แหล่งที่ กรมการค้าต่างประเทศ: https://www.dft.go.th/th-th/

คลิก : 22605_0_ประกาศอาเซียนปี2565.pdf

แนวทางเบื้องต้นที่ควรรู้   ความเป็นมาของ INCOTERM 2020”

ผู้นำเข้าหรือส่งออกควรทำความเข้าใจ INCOTERMS หรือข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศต่างๆ ไว้ให้ถูกต้อง เพราะต้องวางแผนเรื่องความเสี่ยงและภาระการดำเนินการขนส่ง เพื่อให้การนำเข้าส่งออกเป็นไปได้อย่างราบรื่นปราศจากปัญหาตามมา

สำหรับฉบับล่าสุดคือ Incoterms 2020 เป็นฉบับที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่จากปี 2010 และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นมา ความสำคัญของ  Incoterms2020 อยู่ที่กฎระเบียบ 11 ข้อ ที่สามารถนำมาอ้างอิงและใช้ได้ ทั้งกับการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้  ICC ได้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายและผู้ซื้อในเรื่องต่างๆ เอาไว้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบ การรับมอบสินค้า ความเสี่ยงภัยของสินค้า การขนส่ง การประกันภัย เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดส่งและการบรรทุก การทำพิธีการส่งออกและนำเข้า การตรวจสอบสินค้า ฯลฯ เป็นต้น

  • เทอม DAT(Delivered at Terminal)ของ Incoterms 2010สลับหน้าที่มาเป็นเทอมDAP ของ Incoterms 2020 และเทอมDATของIncoterms 2010 เปลี่ยนและเรียกชื่อเป็น DPU ของIncoterms 2020เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ขายและผู้ซื้อประสงค์ให้มีการส่งมอบและรับมอบสินค้ากัน ณ สถานที่อื่นมากกว่าระบุเพียงที่สถานีปลายทาง เพื่อให้ยืดหยุ่นขึ้น
  • ในการทำสัญญาซื้อขาย เทอม FCA ที่ผู้ขายต้องบรรทุกสินค้าขึ้นหรือลงในยานพาหนะที่ผู้ซื้อจัดหา ในกรณีที่ไม่ใช่บรรทุกลงเรือใหญ่โดยตรง ต้องบรรทุกขึ้นรถหรือลงเรือโป๊ะไปถ่ายลงเรือใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในกรณีเป็นการชำระเงินโดย L/C ซึ่งธนาคารกำหนดให้ต้องนำB/L ไปแสดงจึงจะจ่ายเงินตาม L/C ให้ผู้ขาย มีปัญหาเกิดขึ้นคือสายการเดินเรือ จะยังไม่ออก B/L ให้จนกว่าสินค้าที่บรรทุกในรถหรือเรือโป๊ะ จะบรรทุกลงเรือใหญ่

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ตาม Incoterms 2020 ในเทอม FCA ได้เปิดช่องให้ คู่สัญญาสามารถทำความตกลงกันในสัญญาซื้อขาย กำหนดให้ผู้ซื้อที่เป็นผู้จัดหาเรือ ต้องมีข้อกำหนดให้สายการเดินเรือออกB/Lและเอกสารที่เกี่ยวกับการบรรทุกให้ผู้ขายในกรณีดังกล่าวข้างต้น

  • การครอบคลุมของการประกันภัยในระดับที่สูงขึ้น

ในการซื้อขายเทอม CIF และเทอม CIP เป็นหน้าที่ของผู้ขายต้องรับผิดชอบในการประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งไปส่งมอบให้ผู้ซื้อ ตาม Incoterms 2010 สัญญาประกันภัยอาจครอบคลุมช่วงใดช่วงหนึ่งของการขนส่ง แต่ตามIncoterms2020 ผู้ขาย ต้องซื้อประกันภัยที่ครอบคลุม สูงขึ้นจากเดิม

แหล่งที่มาข้อมูล คลิก : https://www.customs.go.th

คลิก แหล่งข้อมูล :  https://internationalcommercialterms.guru/#incoterms-2020


ข่าวสารเกี่ยวกับแหล่ง “เงินลงทุน”

“เงินทุน”

  ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญหนึ่งในการเริ่มต้นธุรกิจ เพราะไม่ว่าเราจะลงมือทำธุรกิจใดๆ แล้วก็ตาม จะต้องจำเป็นต้องใช้มันเพื่อในการแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จำเป็น

  การหาแหล่งเงินทุนนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และมีมากมายหลายช่องทางให้เลือก การกู้หรือสนับสนุน ผู้ที่มีฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือ ผู้ที่มีกิจการของตัวเองอยู่แล้ว ต่างก็ต้องการ “เงินทุน” เข้ามาสนับสนุนธุรกิจที่เพิ่งจะเริ่มต้น หรือขยายธุรกิจเพื่อรองรับการโตของตลาดในอนาคต …… แต่จะทำอย่างไร?” ให้ธุรกิจของเรา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อย (SME) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้  โดยเฉพาะการขอเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงิน


http://www.exim.go.th

https://www.ttbank.com/th

http://www.uob.co.th

http://www.kasikornbank.com

http://www.bangkokbank.com

http://www.gsb.or.th

http://www.ktb.co.th

http://www.scb.co.th

https://www.bk.mufg.jp/global/

http://www.aib.or.th/

http://www.baac.or.th

http://www.hsbc.co.th

http://www.smebank.co.th

http://www.krungsri.com

https://www.tba.or.th/

Visitor
  • Visits Today: 120
  • Total Visits: 30519
  • Total Visitors: 1
  • Total Countries: 1172